เครื่องตรวจใส่และวิเคราะห์เครื่องช่วยฟัง รุ่น Affinity 2.0

เครื่องตรวจใส่และวิเคราะห์เครื่องช่วยฟัง รุ่น Affinity 2.0 ยี่ห้อ Interacoustics ผลิตภัณฑ์ของประเทศเดนมาร์ก

คุณสมบัติสมบูรณ์ครบถ้วนในเครื่องเดียวกัน

ในการใส่เครื่องช่วยฟังให้ผู้ป่วยเริ่มต้นจากการประเมินการได้ยิน และสุดท้ายจบด้วยการที่ผู้ป่วยพึงพอใจในการใส่เครื่องช่วยฟัง เครื่อง Affinity 2.0 เป็นเครื่องที่สมบูรณ์แบบที่ให้การตรวจที่ครบวงจรท่านสามารถเลือก ใส่ option ในเครื่องได้ดังนี้

  1. ตรวจการได้ยิน ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงตรวจวินิจฉัย (อ่านเพิ่มเติมหน้า2 .)
  2. การตรวจใส่เครื่องช่วยฟังพร้อมเลือกใส่ Visible Speech Mapping (อ่านเพิ่มเติมหน้า 3-4)
  3. การวิเคราะห์เครื่องช่วยฟัง (อ่านเพิ่มเติมหน้า 4)

ปัจจุบันเครื่องช่วยฟังมีเทคโนโลยี่ใหม่ๆตลอดเวลา เครื่อง Affinity 2.0 สามารถ upgrade การตรวจเพิ่มเติมได้ภายหลัง ผลการตรวจถูกบันทึกใน NOAH หรือเลือกเก็บไว้ใน database ของเครื่องโดยโปรแกรม OtoAccess TM ซึ่งผู้ใช้งานสามารถทำเป็นระบบ network และเก็บไว้เป็นศูนย์รวมข้อมูลของผลการตรวจของเครื่อง Interacoustics อื่นๆ

ให้ Package การตรวจที่สมบูรณ์แบบ

อุปกรณ์ต่างๆ ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ สามารถเชื่อมต่อกับ Hardware โดยไม่ต้องถอดออก ในระหว่างตรวจ

สามารถออกแบบรายงานผลได้ด้วยตนเอง โดยใช้ print templates แล้วเพิ่มเติมผลการตรวจที่ต้องการลงไปเช่น การตรวจการได้ยิน การตรวจด้วยคำพูด จากที่มีในเครื่อง REM หรือนำมาจากเครื่องอื่นๆ ที่เป็นของ Interacoustics การออกแบบรายงานนี้ยังรวมถึงการใส่สรุป หรือ ข้อเสนอแนะลงไปในผลการตรวจ พร้อมบันทึกผล เรียกผลกลับมาดูได้

ตั้งการตรวจ หรือ protocol ส่วนบุคคลได้ตามที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยทำให้ได้การตรวจที่รวดเร็วตามมาตรฐานที่ผู้ใช้งานแต่ละคนต้องการ และบันทึกการตั้งเครื่องไว้สำหรับใช้ในครั้งต่อไป โดยสามารถตั้งได้หลาย protocol ตามต้องการหรือตามแต่ละผู้ใช้งาน

วิธีการเรียกใช้สะดวกเพียง drop down menu และนอกจากนี้ผู้ใช้งานสามารถส่งผ่าน protocol หรือ download protocol ผ่านทาง Internet

ให้การ Counseling ผู้ป่วย ได้ โดยผู้ใช้งานสามารถให้คำแนะนำผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากเครื่อง ช่วยฟังได้ โดยเครื่อง Affinity 2.0  มี Option ของ Hearing Loss Simulator (HLS440) และ Master Hearing Aid (MHA440)


1.โปรแกรมการตรวจการได้ยิน (AC440 option)

สามารถใส่เข้าในเครื่องได้ โดยเลือกใส่ Option การตรวจมาตรฐาน ได้แก่การนำเสียงทางอากาศ การนำเสียงทางกระดูก และการตรวจด้วยคำพูด หรือเพิ่มเติมการตรวจพิเศษเข้าไปได้ ผลการตรวจนี้ผู้ใช้งานสามารถเรียกมาดูหลายครั้งพร้อมกันโดยเครื่องจะแสดงผลการตรวจในภาพเดียวกัน ซึ่งสามารถเปรียบเทียบการตรวจแต่ละครั้งได้

  • เลือก Option การตรวจ High Frequency (HF440) และ Multiple Frequency (MF440)  โดยสามารถเพิ่มการตรวจความถี่สูงได้ถึง 20 KHz ที่นิยมใช้ในการเฝ้าระวังสำหรับผู้ป่วย Ototoxic  และการตรวจ Multiple Frequency ก็จะช่วยให้ผู้ใช้งานเลือกใช้ตรวจในผู้ป่วยที่มีเสียงดังรบกวนในหู (Tinnitus)
  • QuickSIN TM เป็นการตรวจที่นิยมใช้ในการดูการฟังเสียงพูดในที่มีเสียงรบกวน โดยใส่เสียงรบกวนของสิ่งแวดล้อมที่มี signal-to-noise ratio ต่างๆ โดย AC440 จะให้ความสะดวกในการ scoring และ recommend chart ในการ support ผลการตรวจและให้คำแนะนำ
  • Masking Level Difference (MLD 440) เป็นแบบทดสอบที่สำคัญในการตรวจผู้ป่วย CAPD โดยตรวจแบบ binaural การให้เสียงความถี่ต่ำร่วมกับเสียงรบกวนความถี่แคบ (NB noise) และมี phase ของเสียงที่ต่างกันและดูผลของ threshold shifts 
  • การตรวจการแยกฟังคำพูดจาก Hard drive ของเครื่อง (SFH 440) แทนที่จะใช้ต่อจาก CD  ภายนอก ผู้ใช้งานสามารถให้เสียงพูดและเลือกแสดง word list (สำหรับประเทศไทยยังไม่มี word list ที่อัดเสียง)
  • เลือกใช้คีย์บอรด์ที่เป็นหน้าปัดแบบเครื่องตรวจการได้ยิน (audio-metric keyboard) เพื่อเปลี่ยนจากการที่ใช้เครื่องแบบ stand alone เป็นการตรวจโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

2. การตรวจใส่เครื่องช่วยฟัง (Real Ear Measurement) (REM440 option)

การตรวจใส่เครื่องช่วยฟัง เป็น Objective Measurement ที่มีคุณภาพสำหรับการตรวจใส่เครื่องช่วยฟังให้ผู้ป่วย REM 440 ให้ reliability สูง และตรวจได้ในเครื่องช่วยฟังทุกแบบ ง่ายในการตรวจจากด้านหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง

  • True ‘On-Top’ mode REM 440 ให้ผู้ใช้งานสะดวกสำหรับ Smooth และตรวจใส่เครื่องช่วยฟังได้รวดเร็วและปรับละเอียดได้ง่าย

ระบบการทำงานของ On-Top เป็นการเปลี่ยนโปรแกรม REM 440 และซ้อนกราฟในโปรแกรมวินโดว์ ให้อัตโนมัติขณะที่ทำการปรับเครื่องช่วยฟัง ทำให้สามารถเห็นผลการปรับได้ทันที

  • ทดสอบเครื่องช่วยฟังที่มีเทคโนโลยี่สูง เนื่องจากปัจจุบันเครื่องช่วยฟังมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี่อย่างรวดเร็ว เช่นมีการทำงานแบบ Open fit REM 440 สามารถทำการ Calibrate open fit ได้ นอกจากนี้โปรแกรม REM440 ยังสามารถวิเคราะห์ feature เครืองที่มีระบบการทำงานอัตโนมัติอื่นๆ เข่น ระบบการลดเสียงรบกวนอัตโนมัติ (noise reduction) , ระบบที่มีไมโครโฟน 2 อัน (directional microphone) 
  • กระตุ้นการตรวจด้วยเสียงที่มาจากชีวิตจริง ผู้ใช้งานสามารถประเมินการใช้งานของเครื่องช่วยฟังจากการเลือกเสียงที่มีใช้ในชีวิตจริง (Real world stimulation)  โดยวิธีการง่ายๆ คือเลือกเสียงจากระบบดิจิตอลของเสียงผู้หญิง ผู้ชาย หรือทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แล้ว import เข้าใน file เสียงของท่าน เลือกให้เสียงจาก environment โดยเพียงแต่คลิกเลือก “external sound” จะทำให้ทราบถึงปัญหาของเสียงจากเครื่องช่วยฟังที่ผู้ป่วยได้รับ
  • RECD และการตรวจใส่เครื่องช่วยฟังในเด็ก เนื่องจากระบบการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดทำให้สามารถตรวจพบเด็กที่มีปัญหาการได้ยินก่อนอายุ 6 เดือน ซึ่งในการใส่เครื่องช่วยฟังในเด็กเล็ก มักใช้วิธีการที่เรียกว่า Real-ear to Coupler Difference (RECD) เพราะเด็กเล็กไม่สามารถนั่งนิ่งได้นานการทำ REUR และ RECD จากหูเด็กจริงอาจทำไม่ได้ เครื่อง REM440 มีค่าคำนวณให้ตามช่วงอายุ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้ เป็นการลดความเครียดและระยะเวลาในการตรวจเด็กลง

Visible Speech Mapping (Option)

ใช้ในการให้คำแนะนำ และปรับแต่งเครื่องช่วยฟัง

การให้คำแนะนำเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่ง Visible Speech Mapping จะมีส่วนสำคัญที่สุดในการอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถัดจากผลการตรวจใส่เครื่องช่วยฟัง

ปัจจุบัน Visible Speech Mapping จะมีส่วนสำคัญ และเป็นที่นิยมมากในการให้คำอธิบายกับผู้ป่วย

  • แนวคิดของ Visible Speech Mapping

Visible Speech Mapping รวมกับผลการตรวจ real ear measurement เพื่อนำมา counseling จะทำให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ผู้ใช้งานสามารถเลือก target จากสูตรต่างๆ เช่น NAL-NL2, DSL v5 โดยดูการทำงานของเครื่องช่วยฟังขณะใส่เครื่องเทียบกับขณะไม่ใส่เครื่องช่วยฟังในเวลาเดียวกันแบบ real time เครื่องจะมีการแสดงกราฟของที่มีการได้ยินปกติและกราฟของผู้ป่วยเป็น SPL พร้อมตัวอย่างของเสียงในสิ่งแวดล้อม เพื่อทำนายค่าความสามารถเข้าใจเสียงพูดและการได้ยินที่ดีขึ้น ซึ่งค่าดังกล่าวจะให้ผู้ใช้งานอธิบายการทำงานของระบบ compression , ประโยชน์ที่ได้รับจากการใส่ 2 หู และเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยที่ใส่ในเครื่องช่วยฟัง

3. การวิเคราะห์การทำงานของเครื่องช่วยฟัง (HIT 440 Option)

HIT 440 เป็นการวิเคราะห์การทำงานของเครื่องช่วยฟัง ซึ่งสามารถเลือกการวิเคราะห์โดยใช้มาตรฐาน IEC และ ANSI ได้ เครื่องสามารถ update การทำงานใหม่ๆ ให้ทันกับเทคโนโลยี่ใหม่ๆ ของเครื่องช่วยฟังได้ง่าย เสียงที่ใช้ตรวจมีให้เลือกหลายแบบรวมถึง ICRAs ซึ่งเป็นเสียงที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับเครื่องช่วยฟังแบบ nonlinear

  • ทำงานได้อัตโนมัติไม่มีการสิ้นสุด เครื่องมีการทำงานตามลำดับการตรวจจนถึงค่าที่ยอมรับให้คลาดเคลื่อน ผู้ใช้งานสามารถให้เครื่องทำงานได้ตลอดทั้งคืน
  • ทดสอบเครื่องช่วยฟังที่มีไมโครโฟน 2 อัน (Directional Microphone)  โดยมีลำโพงที่ใช้ตรวจภายในเครื่อง 2 ลำโพง เพื่อตรวจสอบการทำงานของ directional microphone function

มี Built-in ลำดับการตรวจ ซึ่งมีการทำงานอัตโนมัติทั้งการวิเคราะห์การทำงานของ IEC และ ANSI โดยทำงานให้จนจบ และผลการตรวจจะไปรวมไว้ในการรายงานผล

มี Built-in ลำดับการตรวจ ซึ่งมีการทำงานอัตโนมัติทั้งการวิเคราะห์การทำงานของ IEC และ ANSI โดยทำงานให้จนจบ และผลการตรวจจะไปรวมไว้ในการรายงานผล
สามารถใช้ร่วมกับกล่องตรวจรุ่น TB25 ซึ่งเป็นกล่องตรวจรุ่นที่มีค่าการลดเสียงสูง ใช้ต่อภายนอกเครื่อง
  • สามารถเรียกผลการตรวจเก่ามาดูได้พร้อมกับการตรวจใหม่
  • การตรวจอื่นๆ ได้แก่
    • การตรวจเครื่องช่วยฟังทุกแบบ
    • ใช้กับ NOAH ได้
    • ปรับกราฟเรียบได้
    • ทดสอบการทำงานของระบบ Telecoil
    • ทำกราฟซ้อนกันได้
    • สามารถ Import/Export ได้
    • มีเสียงกระตุ้นหลายแบบ

คุณลักษณะเฉพาะการใช้งานของเครื่อง Affinity 2.0

วัตถุประสงค์

  1. ใช้ตรวจใส่และเลือกเครื่องช่วยฟังในป่วยทั่วไป และผู้ป่วยที่ตรวจยากหรือไม่ให้ความร่วมมือ
  2. ใช้วิเคราะห์เสียงของเครื่องช่วยฟังที่ผู้ป่วยได้ยินเพื่อเป็นแนวทางในการปรับแต่งเครื่องช่วยฟังและแบบพิมพ์หูให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
  3. ใช้ในการวิเคราะห์การทำงานของเครื่องช่วยฟังเพื่อเปรียบเทียบกับคุณลักษณะที่กำหนดโดยบริษัทผู้ผลิต
  4. ใช้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องช่วยฟังเมื่อผู้ป่วยส่งเครื่องซ่อมหรือมีปัญหาการใช้เครื่อง

คุณลักษณะทั่วไป

  1. วิเคราะห์การทำงานของเครื่องช่วยฟังตามมาตรฐานสากล 
  2. ตรวจใส่เครื่องช่วยฟังโดยเครื่องจะมีการปล่อยเสียงและวัดเสียงขยายที่ผ่านเครื่องช่วยฟังในหูผู้ป่วยกลับออกมาวิเคราะห์
  3. ใช้ปรับเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับระดับการสูญเสียการได้ยินในผู้ป่วยแต่ละรายโดยใส่ผลการตรวจการได้ยิน เครื่องจะคำนวณความดังหรือกำลังขยายที่ผู้ป่วยต้องการได้โดยอัตโนมัติจากสูตรที่อยู่ภายในเครื่อง
  4. เปรียบเทียบเครื่องช่วยฟังแต่ละเครื่องได้
  5. ทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ แสดงผลทางจอภาพ และพิมพ์ผลผ่านทางเครื่องพิมพ์

หมายเหตุ ผู้ใช้งานสามารถเลือก Option การตรวจการได้ยินได้

test